คำนิยาม การต่อต้าน การคอร์รัปชั่น
- “บริษัท” หมายถึง บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด ( มหาชน ) บริษัทย่อย หรือ บริษัทในเครือหมายถึง บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด ( มหาชน ) เป็นเจ้าของหรือถือหุ้นที่มีสิทธิ ออกเสียงในบริษัทหรือนิติบุคคลนั้นเกินกว่าร้อยละ 90 ไม่ว่าจะถือหุ้นเองโดยตรง หรือถือหุ้นโดยอ้อม
- “คอร์รัปชั่น” ( Corruption ) หมายถึง เป็นการกระทำที่ทำให้ ขอให้ หรือ รับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่และเจตนาให้ได้รับผลประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอาจรวมถึงการช่วยเหลือทางการเมือง การบริจาคเพื่อการกุศล เงินสนับสนุน ค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช่จ่ายอื่นๆเป็นต้น
- “ทุจริต” ( Fraud ) หมายถึง ประพฤติชั่ว ประพฤติไม่ดี ไม่ชื่อตรง โกง คดโกง ฉ้อโกง โดยใช้อุบายหรือเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวงเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ เพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือ ผู้อื่น เช่น การยักยอกเงิน หรือทรัพย์สินบริษัทไปใช้ผลประโยชน์ส่วนตน การฉ้อโกง การมีผลประโยชน์ทับซ้อน การตกแต่งบัญชีหรือการแก้ไขปลอมแปลงเอกสารรวมถึงการให้สินบนทุกรูปแบบ
- “สินบน” (Bribery) หมายถึง ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ในที่นี้ “ทรัพย์สิน” หมายถึง ทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น เงิน บ้าน รถ “ประโยชน์อื่นใด” เช่น การสร้างบ้านหรือตกแต่งบ้าน โดยไม่คิดราคาหรือคิดราคาต่ำ ผิดปกติ การให้อยู่บ้านเช่าฟรี การปลดหนี้ให้ การพาไปท่องเที่ยว
- “การช่วยเหลือทางการเมือง” ( Political contributions ) หมายถึง การให้การสนับสนุนด้านการเงินหรือส่งเสริมให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในนามของบริษัท เพื่อสนับสนุนพรรคการเมือง นักการเมือง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทางการเมือง ไม่ว่าเป็นทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิพิเศษ หรือประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย หรือความได้เปรียบทางธุรกิจทางการค้า แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการที่พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองตามหลักสิทธิเสรีภาพ
- “การช่วยบริจาคเพื่อการกุศล” ( Charitable Contributions ) หมายถึง การบริจาคเงินหรือสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใด ให้บุคคลหรือนิติบุคคลใดที่จัดตั้งขึ้น เช่นสมาคม มูลนิธิ องค์กรสาธารณะ วัด โรงพยาบาล สถานศึกษา หรือองค์กรที่ทำประโยชน์เพื่อสังคม อันมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำสาธารณะประโยชน์ให้สังคมโดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน หรือผลประโยชน์จากองค์กรที่เข้าไปให้การสนับสนุน
- “เงินสนับสนุน” ( Sponsorships ) หมายถึง เงินที่จ่ายหรือรับจากลูกค้า คู่ค้า สมาคม มูลนิธิ องค์กรกุศล หรือองค์กรไม่แสวงหากำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมตราสินค้า หรือชื่ื่อเสียงของบริษัท อันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความน่าเชื่อถือทางการค้าช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจและความเหมาะสมแก่โอกาส
- “ค่าของขวัญค่าบริการต้อนรับ ( Hospitality ) ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง” หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆที่จ่ายเพื่อเป็นค่าสิ่งของใดๆที่มีมูลค่าทางการเงิน รวมถึงสิ่งที่ใช้แทนเงินสดและสิ่งที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าหรือบริการ
- “ค่าอำนวยความสะดวก” ( Facilitation Payment ) หมายถึง ค่าใช้จ่ายจำนวนเล็กน้อยที่จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างไม่เป็นทางการและเป็นการให้เพียงเพื่อให้มั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินการตามกระบวนการ หรือเป็นการกระตุ้นให้ดำเนินการรวดเร็วขึ้น โดยกระบวนการนั้นไม่ต้องอาศัยดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ และเป็นการกระทำอันชอบด้วยหน้าที่ของรัฐผู้นั้นรวมทั้งเป็นสิทธิที่นิติบุคคลพึงจะได้ตามกฎหมายอยู่แล้ว เช่น การขอใบอนุญาต การขอหนังสือรับรองและการได้รับการบริการสาธารณะ เป็นต้น
- “พนักงานของบริษัท” หมายถึง กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับของ บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด
( มหาชน )
โครงสร้างคณะทํางานมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น
บริษัทได้กําหนดแนวทางในการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นดังต่อไปนี้
- ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน และบริษัทในสายธุรกิจ ดำเนินกิจการหรือยอมรับหรือให้การสนับสนุนการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยครอบคลุมถึงทุกบริษัทในสายธุรกิจสินค้าอุปโภค/บริโภค รวมถึง ผู้รับจ้างหรือผู้รับจางช่วงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและกำหนดให้มีการสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านทุจริต คอร์รัปชั่น อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนมีการทบทวนแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบาย ระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนด ประกาศ กฎหมายและการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ
- มาตรการต่อต้อนการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจและเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ของบริษัท ผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา พนักงานทุกคนทุกระดับ ผู้ส่งมอบ หรือผู้รับเหมาช่วงที่จะมีส่วนในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ การปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นบรรลุตา มนโนบายที่กำหนด
- บริษัทพัฒนามาตรการการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น ให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมถึงหลักปฏิบัติด้านศีลธรรม โดยจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องหรือกล่มเสี่ยงต่อ การทุจริตและคอร์รัปชั่น และนำมาจัดทำเป็นคู่มือแนวทางในการปฏิบัติแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
- บริษัทไม่กระทำหรือสนับสนุนการให้สินบนทุกรูปแบบ ทุกกิจกรรมที่อยู่ภายใต้การดูแลรวมถึงการควบคุม การบริจาคเพื่อการกุศล การบริจาคให้แก้พรรคการเมือง การให้ของขวัญทางธุรกิจและการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ มีความโปร่งในและไม่มีเจตนาเพื่อโน้มน้าวให้เจ้าหน้าทีภาครัฐหรือเอกชน ดำเนินการที่ไม่เหมาะสม
- บริษัทจัดให้มีการควบคุมภายในที่เหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานมีการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะงานขาย การตลาด จัดซื้อ
- บริษัทจัดให้มีความรู้ด้านการต่อต้านการทุจริตและคอรร์รัปชั่นแก่คณะกรรมการ บริษัท ผู้บริหารและพนักงานเพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ สุจริต และความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึงสื่อให้เห็นความมุ่งมั่นของบริษัท
- บริษัทจัดให้มีกลไกการรายงานสถานะการเงินที่โปร่งในและถูกต้องแม่นยำ
- บริษัทส่งเสริมให้มีการสื่อสารหลากหลายช่องทาง เพื่อให้พนักงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถแจ้งเบาะแสอันควรสงสัยโดยมั่นใจได้ว่าผู้แจ้งเบาะแสได้รับการคุ้มครอง โดยไม่ให้ถูกลงโทษ โยกย้ายที่ไม่เป็นธรรมหรือกลั่นแกล้งด้วยประการใด และรวมถึงการแต่งตั้งบุคคลเพื่อตรวจสอบติดตามทุกเบาะแสที่มีการแจ้งเจ้ามา ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
บทลงโทษ
บริษัท มีกระบวนการในการลงโทษ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานของบริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นอย่างเหมาะสม การลงโทษนี้รวมถึงการเลิกจ้าง หรือปลดออก ตามข้อบังคับการทำงานของบริษัท นอกจากนี้อาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย หากกระทำนั้นๆ ผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย
หน้าที่ความรับผิดชอบ
- คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นผู้อนุมัติ และกำกับดูแลให้มีการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่นที่ชัดเจน สื่อสารนโยบายให้แก่พนักงานของบริษัททุกระดับ และบุคคลภายนอกเพื่อให้เกิดการนำไปปฏิบัติได้จริง
- คณะกรรมการตรวจสอบ สอบทานความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงและแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการคอร์รัปชั่นของบริษัท ตามโครงการแนวร่วมปฏิบัติ ของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริตมีหน้าที่รับผิดชอบในการสอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชี ระบบควบคุมภายในและระบบตรวจสอบภายใน สอบทานให้บริษัทปฎิบัติตามกฏหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
- คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่มีผลต่อนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั้น พิจารณาและกลั่นกรองการจัดสรรสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับเของบริษัทและรายงานผลการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริษัท
- คณะกรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการและผู้บริหารฝ่าย มีหน้าที่นำนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงาน ทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย
- ตรวจสอบภายใน มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบ และสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีระบบควบคุมภายในด้านการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นที่มีความเหมาะสมและรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
- กรรมการผู้จัดการ และ รองกรรมการผู้จัดการ มีหน้าที่ และรับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบทานการปฎิบัติงานว่าเป็นไปอย่างถูกต้อง ตรงตามนโยบายแนวปฏิบัติ อํานาจดําเนินการ ระเบียบปฏิบัติ และกฎหมายข้อกําหนดของหน่วยงานกํากับดูแล เพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบควบคุมที่มีความเหมาะสมและเพียงพอต่อความเสี่ยงด้านคอร์รัปชั่นที่อาจเกิดขึ้นและรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
- ผู้จัดการฝ่าย มีหน้าที่ และรับผิดชอบในการควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบาย
- คณะทำงาน มีหน้าที่ในการจัดทำนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นให้คำปรึกษาและข้อแนะนำเกี่ยวกับการต้อต้านคอร์รัปชั่น อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชั่น สอบสวนข้อเท็จจริง ในกรณีมีการร้องเรียน หรือการแจ้งเบาะแส โดยปฏิบัติตามนโยบายสอบสวนข้อเท็จจริงและรายงานผลการปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบายฉบับนี้ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ