ปี |
พัฒนาการของบริษัท |
ปี 2534 |
- จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2534 ในนาม “บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด” ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 2 ล้านบาท โดยครอบครัวธนาดำรงศักดิ์ โดยเริ่มต้นจากการนำเข้าแม่พิมพ์จากไต้หวันจำนวน 2 รุ่น และจ้างโรงงานอื่นผลิตให้ เพื่อจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ให้กับลูกค้าในประเทศ
|
ปี 2536 |
- เพิ่มทุนชำระแล้วเป็น 20 ล้านบาท เพื่อนำเข้าแม่พิมพ์เพิ่มจำนวน 20 รุ่น จากบริษัท โปรฟอร์จูน อินดัสตรี้ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำในประเทศไต้หวัน โดยแม่พิมพ์ที่นำเข้านั้น ใช้สำหรับผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ประเภทหน้ากระจัง กันชน และชิ้นส่วนยานยนต์ประเภทอื่นที่ทำด้วยพลาสติก
|
ปี 2537 |
- เพิ่มทุนชำระแล้วเป็น 40 ล้านบาท โดยบริษัท โปรฟอร์จูน อินดัสตรี้ จำกัด จากไต้หวันได้เข้ามาร่วมลงทุนกับบริษัทฯ โดยถือหุ้นในอัตราร้อยละ 25 ของทุนที่เรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ
|
ปี 2539 |
- เพิ่มทุนชำระแล้วเป็น 60 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในบริษัทฯ และเพื่อรองรับการขยายการดำเนินธุรกิจที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งได้เริ่มผลิตแม่พิมพ์เองเป็นครั้งแรก โดยจ้างผู้เชี่ยวชาญทางด้านแม่พิมพ์จากไต้หวันมาประจำในบริษัทฯ เข้าสู่ธุรกิจผู้ผลิตชิ้นส่วนพลาสติกยานยนต์อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งงานฉีดขึ้นรูปพลาสติก ชุบโครเมียม พ่นสี และประกอบชิ้นส่วนพลาสติก รวมถึงการให้บริการออกแบบและสร้างแม่พิมพ์
- เข้าร่วมงานแสดงสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ที่ประเทศ ไต้หวัน (AMPA SHOW) เป็นครั้งแรก และเริ่มส่งออกสินค้าไปจำหน่ายในต่างประเทศ
|
ปี 2544 |
- เพิ่มทุนชำระแล้วเป็น 80 ล้านบาท เพื่อซื้อที่ดิน 11-0-60 ไร่ และก่อสร้างโรงงานที่ลำลูกกาคลอง 7 เพื่อขยายฐานการผลิต เพื่อรองรับการขยายตัวของลูกค้าต่างประเทศ
|
ปี 2545 |
- ย้ายโรงงานจากลำลูกกาคลอง 4 มายังลำลูกกาคลอง 7 พื้นที่ใช้สอยรวม 16,000 ตารางเมตร
|
ปี 2547 |
- ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น เนื่องจากผู้บริหารของบริษัท โปรฟอร์จูน อินดัสตรี้ จำกัด ขายกิจการ จึงได้ขายหุ้นของบริษัทฯ คืนให้กับครอบครัวธนาดำรงศักดิ์
- แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน)
|
ปี 2547-48 |
- เพิ่มทุนชำระแล้วเป็น 200 ล้านบาท เพื่อใช้ในการขยายกิจการ ดังนี้
- ก่อสร้างอาคารโรงงานและคลังสินค้าเพิ่มเติมอีกบนเนื้อที่อีก 14-1-28 ไร่รวมเป็นพื้นที่ 25-1-88 ไร่ พื้นที่ใช้สอยทั้งสิ้น 48,000 ตารางเมตร เพื่อขยายการผลิตในทุกกระบวนการ
- ลงทุนสายการผลิตชุบโครเมียมแบบอัตโนมัติ (Automatic) เพิ่มเติม จำนวน 1 สายการผลิต ทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 13 ล้านตารางเดซิเมตรต่อปี เป็น 49 ล้านตารางเดซิเมตรต่อปี
- การพัฒนาและวิจัยการผลิตแม่พิมพ์โดยนำเข้าเครื่องขึ้นรูปแม่พิมพ์ CNC (Computer Numerical Control) และเครื่อง EDM (Electrical Discharged Machine) จากต่างประเทศสำหรับขึ้นรูปแม่พิมพ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่นกันชน และหน้ากระจังรถยนต์ ทำให้สามารถลดต้นทุนการนำเข้าแม่พิมพ์จากต่างประเทศ เพิ่มสายพ่นสี แบบอัตโนมัติ (Automatic) 1 สายการผลิต รวมเป็น 2 สายการผลิต เพื่อรองรับลูกค้าในกลุ่ม OEM โดยสามารถเพิ่มกำลังการผลิตในการพ่นสีเป็น 15.72 ล้านตารางเดซิเมตรต่อปี
|
ปี 2552 |
- ปรับปรุงสายการผลิตชุบโครเมียมโดยใช้เทคโนโลยี และน้ำยาจาก UEMURA (Japan) และ ATOTECH (German) เพื่อยกระดับคุณภาพจาก REM สู่สายการผลิต OEM โดยเป็นการชุบโครเมียมแบบ Trivalent Chrome (Cr3+) ซึ่งใช้สารเคมีที่ย่อยสลายในธรรมชาติได้ง่ายกว่า Hexavalent Chrome (Cr6+) ทำให้การผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 5 ล้านตารางเดซิเมตร เป็น 54 ล้านตารางเดซิเมตรต่อปี
|
ปี 2553 |
- สร้างอาคารคลังเก็บวัตถุดิบเพื่อรองรับการขยายตัวของการผลิต ขนาดพื้นที่ 1,800 ตารางเมตร
- ลงทุนในเครื่องฉีดอีก 4 เครื่อง รวมมีเครื่องฉีด 20 เครื่อง กำลังการผลิตรวม 4,103 ตันต่อปี
- สร้างสายการผลิตพ่นสีเพิ่มอีก 1 สาย รวมเป็น 3 สายการผลิตกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 72 ล้านตารางเดซิเมตรเป็น 22.22 ล้านตารางเดซิเมตร
- ซื้อที่ดินเพิ่มเติมบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง ขนาด 28-0-4 ไร่ เพื่อเตรียมขยายกิจการเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในกลุ่มธุรกิจยานยนต์ และเพื่อแยกกลุ่มลูกค้าที่เป็น OEM และ REM
|
ปี 2554 |
- ลงทุนเพิ่มเครื่องฉีดอีก 1 เครื่อง ติดตั้งพร้อมระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ ส่งผลทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 4,839 ตันต่อปี
- เพิ่มสายการผลิตพ่นสีเพิ่มอีก 1 สาย รวมเป็น 4 สายการผลิต กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 22 ล้านตารางเดซิเมตรเป็น 28.72 ล้านตารางเดซิเมตรต่อปี เพื่อรองรับลูกค้าในกลุ่ม OEM
- เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 295 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 95,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 00 บาท ซึ่งรายละเอียดการจัดสรรเป็นดังนี้
- หุ้นสามัญจำนวน 32,000,000 หุ้น จัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งจัดสรรเรียบร้อยแล้ว ส่งผลทำให้ทุนชำระแล้วของบริษัทฯ เท่ากับ 232,000,000 หุ้น
- ออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 63,000,000 หุ้น โดยแบ่งเป็น เสนอขายให้แก่กรรมการและพนักงานของบริษัทฯ จำนวน 3,000,000 หุ้น และ เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป จำนวน 60,000,000 หุ้น
|
ปี 2555 |
- ซื้อที่ดินเพิ่มเติมบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง 1 แปลง ขนาด 4 ไร่ เพื่อรองรับการขยายงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนการผลิต และการวิจัยพัฒนาการออกแบบและสร้างแม่พิมพ์
- ซื้อที่ดินขนาด 1-2-99 ไร่ ซึ่งอยู่ด้านหน้าโรงงาน มูลค่า 5.69 ล้านบาท เพื่อสร้างอาคารสำนักงาน
- เข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ในวันที่ 20 กันยายน 2555
|
ปี 2556 |
- มีการก่อสร้างอาคารฝ่ายวิศวกรรม เสร็จเป็นที่เรียบร้อย และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตแม่พิมพ์ 30%
- มีการเพิ่มกำลังการผลิต ในส่วนของงานฉีดพลาสติก โดยการเพิ่มเครื่องจักรสำหรับรองรับงานฉีดกันชน
- เพิ่มกระบวนการผลิตระบบงานชุบ VACCUM เพื่อรองรับการขยายตัวในส่วนงานการผลิตไฟในรถยนต์
- การก่อสร้างอาคารสำนักงานมีความคืบหน้ากว่า 80%
- การก่อสร้างอาคารคลังสินค้า มีความคืบหน้าในการก่อสร้างกว่า 20%
- เพิ่มทุนจดทะเบียนอีกจำนวน 25 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 295 ล้านบาท เป็น 320 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 25 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพ
|
ปี 2557 |
- ก่อสร้างอาคารอาคารสำนักงาน และ โชว์รูมแสดงสินค้า มีความคืบหน้าเกือบ 100%
- การก่อสร้างอาคารคลังสินค้า มีความคืบหน้าในการก่อสร้างกว่า 80%
- เปลี่ยนแปลงทุนออกจำหน่ายและชำระเต็มมูลค่าแล้วจากเดิม 295 ล้านบาท เป็น 301 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้ 00 บาทเนื่องจากกองทุนต่างประเทศ ใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ
- เปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ของหุ้นของบริษัทฯ จากเดิมมูลค่าหุ้นละ 1 บาท เป็นมูลค่าหุ้นละ 25 บาท โดยมีหุ้นสามัญจดทะเบียนจำนวน 320 ล้านหุ้น เปลี่ยนแปลงเป็นจำนวน 1,280 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วจำนวน 300.60 ล้านหุ้น เปลี่ยนแปลงเป็นจำนวน 1,202.38 ล้านหุ้น
- เข้าลงทุนในบริษัทร่วมค้า Fortune-Parts Industry Ecuador CIA,LTDA. ในสัดส่วน 45% มีทุนจดทะเบียน 500,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 225,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ตั้งอยู่ในประเทศเอกวาดอร์ โดยมีวัตถุประสงค์การลงทุนเพื่อรองรับการขยายธุรกิจในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ขายส่งชิ้นส่วนและอุปกรณ์รถยนต์ ไปในกลุ่มประเทศอเมริกาใต้
|
ปี 2558 |
- เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 320 ล้านบาท
- (หุ้นสามัญ 1,280 ล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท) เป็น 395.73 ล้านบาท
- (หุ้นสามัญ 1,582.92 ล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท)
- โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 302.92 ล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของใบสำคัญแสดงสิทธิ
- ชำระเงินลงทุนในบริษัทร่วมค้า Fortune-Parts Industry Ecuador CIA,LTDA. ในสัดส่วน 45% มีทุนจดทะเบียน 500,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 225,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ตั้งอยู่ในประเทศเอกวาดอร์
- ออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ครั้งที่ 1 (FPI-W1) จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในอัตราส่วนใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วยต่อ 4 หุ้นเดิม จำนวนไม่เกิน 302.92 ล้านหน่วย อายุไม่เกิน 3 ปี อัตราการใช้สิทธิ 1 หน่วยต่อ 1 หุ้นสามัญ ราคาใช้สิทธิ 2 บาท
- ก่อสร้างอาคารอาคารสำนักงาน และโชว์รูมแสดงสินค้า และอาคารคลังสินค้าเสร็จ
- เพิ่มกำลังการผลิตโดยการเพิ่มเครื่องฉีดพลาสติกขนาด 2500 ตัน และขนาด 1000 ตัน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตสินค้ากลุ่มกันชน หน้ากระจัง
- ปรับปรุงกระบวนการชุบโครเมี่ยมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพ การผลิตให้สูงขึ้นเพื่อขยายตลาดลูกค้ากลุ่ม OEM
- ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อความร่วมมือทางธุรกิจในโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล จำนวนไม่เกิน 120 MW
- และได้จดทะเบียนจัดตั้งเรียบร้อยแล้ว 4 บริษัท โดยแต่ละบริษัทมีทุนจดทะเบียน จำนวน 20 ล้านบาท บริษัทฯ ได้ชำระค่าหุ้น จำนวน 4.75 ล้านบาท แล้ว
- ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือทางธุรกิจในประเทศอินเดีย เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ALP FPI PARTS PRIVATE LIMITED เพื่อเป็นการขยายฐานการผลิตสินค้า กลุ่ม OEM ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และมีอัตราการเติบโตสูง
|
ปี 2559 |
- การลดทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ จำนวน 17,072,366.50 บาทจากทุนจดทะเบียนเดิม จำนวน 395,731,908.25 บาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่ จำนวน 378,659,541.75 บาท
โดยตัดหุ้นสามัญที่คงเหลือและยังไม่ได้จำหน่ายที่จัดสรรไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ จำนวน 68,289,466 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท
- จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทร่วมทุนจำนวน 4 บริษัท ได้แก่
- บริษัท เซฟ เอนเนอร์จี กรุ๊ป (นราธิวาส 1) จำกัด
- บริษัท เซฟ เอนเนอร์จี กรุ๊ป (ยะลา 1) จำกัด
- บริษัท เซฟ เอนเนอร์จี กรุ๊ป (ปัตตานี) จำกัด
- บริษัท เซฟ เอนเนอร์จี กรุ๊ป (สงขลา) จำกัด
เรียบร้อยแล้ว ด้วยทุนจดทะเบียนและชำระแล้วบริษัทละ 20 ล้านบาท โดยบริษัทฯ บริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 25, 20, 25, 25 ตามลำดับ
- เข้าลงนามในบันทึกความเข้าใจ (“MOU”) โดยความร่วมมือ
บริษัท ศรีวัฒนา กรีน เพาเวอร์ จำกัด (“SGP”)
บริษัท ศรีเจริญไบโอเพาเวอร์ จำกัด (“SBP”)
และบริษัท ไพร์ซ ออฟ วู้ด กรีน เอนเนอร์จี จำกัด (“Prize”)
เพื่อร่วมศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล โดย SGP และ SBP เป็นบริษัทที่ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ในจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีขนาดกำลังการผลิตโรงละ 9.9 เมกะวัตต์ และ Prize เป็นบริษัทที่ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ในจังหวัดนราธิวาส ที่มีขนาดกำลังการผลิตโรงละ 7.5 เมกะวัตต์
- ยกเลิกการเข้าลงทุนในบริษัทร่วมทุนรวม 4 บริษัท ดังนี้
- บริษัท เซฟ เอนเนอร์จี กรุ๊ป (นราธิวาส 1) จำกัด โดย FPI ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 25.00
- บริษัท เซฟ เอนเนอร์จี กรุ๊ป (ยะลา 1) จำกัด โดย FPI ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 20.00
- บริษัท เซฟ เอนเนอร์จี กรุ๊ป (ปัตตานี) จำกัด โดย FPI ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 25.00
- บริษัท เซฟ เอนเนอร์จี กรุ๊ป (สงขลา) จำกัด โดย FPI ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 25.00
- เนื่องจากบริษัทร่วมทุน 4 บริษัท ดังกล่าวไม่สามารถชนะการประมูลเพื่อเสนอเข้ารับคัดเลือกเป็นผู้จำหน่ายไฟฟ้าในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ตามประกาศรายละเอียดหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนด้วยวิธีการคัดเลือกโดยการแข่งขันทางด้านราคา (Competitive Bidding) ระยะที่ 1 สำหรับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ทั้งนี้บริษัทร่วมทุน 4 บริษัทได้จดทะเบียนเลิกกิจการแล้วเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2559
- ชำระเงินลงทุนในบริษัทร่วมค้า ALP FPI PARTS PRIVATE LIMITED ในสัดส่วน 45% มีทุนจดทะเบียน 200,000,000 รูปีอินเดีย ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย เพื่อเป็นการขยายฐานการผลิตสินค้า กลุ่ม OEM ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และมีอัตราการเติบโตสูง
- ลงทุนกระบวนการพ่นสี แบบ Automatic Painting โดยใช้ระบบหุ่นยนต์ในการพ่นสี
- ปรับปรุงการใช้พลังงานความร้อนจาก การใช้เชื้อเพลิง แก๊ส เป็น การใช้พลังงานชีวมวล
|
ปี 2560 |
- เข้าลงทุนในบริษัทร่วมทุนแห่งใหม่ ชื่อ บริษัท เซฟ เอนเนอร์จี โฮลดิ้งส์ จำกัด ที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเพื่อเข้าลงทุนในธุรกิจด้านโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล แล้วเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท สัดส่วนการถือหุ้น ร้อยละ 49.98 ตั้งอยู่ในประเทศไทย
- เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯมีมติอนุมัติการเข้าลงทุนในโครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลของบริษัท ไพร์ซ ออฟ วู้ด กรีน เอนเนอร์จี จำกัด โดยให้บริษัท เซฟ เอนเนอร์ จี โฮลดิ้งส์ จำกัด เข้าซื้อหุ้นสามัญในบริษัทดังกล่าวในสัดส่วนร้อยละ 99 ของทุนจดทะเบียน คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนไม่เกิน 425 ล้านบาท
- เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2560 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท เซฟ เอนเนอร์จี โฮลดิ้งส์ จำกัด ได้มี มติอนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 1 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 10,000 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 100 บาท) เป็น 426 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 4,260,000 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 100 บาท) โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 4,250,000 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 100 บาท เพื่อเข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ไพร์ซ ออฟ วู้ด กรีน เอนเนอร์จี จำกัด อย่างไรก็ตาม บริษัทฯขอสละสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสิทธิของตนบางส่วน เป็นผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯลดลงจากร้อยละ 49.98 เป็นร้อยละ 33.37 ในระหว่างปี บริษัทฯได้ชำระค่าหุ้นตามสัดส่วนการลงทุนของบริษัทฯแล้วจำนวน 142 ล้านบาท
- เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2560 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท เซฟ เอนเนอร์จี โฮลดิ้งส์ จำกัด ได้มีมติอนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 426 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 4,260,000 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 100 บาท) เป็น 581 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 5,810,000 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 100 บาท) โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 1,550,000 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 100 บาท และจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการลงทุนเพื่อเข้าลงทุนในบริษัท บิน่า พูรี่ พาวเวอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด และ บริษัท เซฟ ไบโอแม็ส จำกัด บริษัทฯได้ชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนการลงทุนแล้วเป็นจำนวน 52 ล้านบาn
- เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ALP FPI PARTS PRIVATE LIMITED มีมติอนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 200 ล้านรูปีอินเดียเป็น 320 ล้านรูปีอินเดีย โดยบริษัทฯยังคงสัดส่วนการลงทุนตามเดิม
- ซื้อที่ดิน จำนวน 6 ไร่ มูลค่าลงทุน 35.65 ล้านบาท โดยโอนกรรมสิทธิ์แล้วจำนวน 4 ไร่ คิดเป็นเงิน 22.94 ล้าน เพื่อขยายโรงงาน
|
ปี 2561 |
- ลงทุนสร้างอาคารวิศวกรรม ขนาด 6400 ตารางเมตร มูลค่าก่อสร้าง 13ล้านบาท เพื่อใช้เป็นอาคารในการสร้างแม่พิมพ์และจัดเก็บแม่พิมพ์
- ติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Sola rooftop) ขนาด 92 เมกะวัตต์เพื่อนำไฟฟ้ามาใช้ในกระบวนการผลิต โดยบริษัท Green Yellow เป็นผู้ลงทุนและขายไฟฟ้าในส่วนลด 23.5% สัญญา 20ปี
- นำไอน้ำกลับมาใช้ใหม่ (Condensate Return System) ลดปริมาณน้ำป้อน 4,468 m3/ปี และลดปริมาณเชื้อเพลิง LPG 23,822.18 กิโลกรัม/ปี เชื้อเพลิงชีวมวล 145,566.08 กิโลกรัม/ปี
- ติดตั้งปั๊มลมสกรู ลดปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ 185,472 (kWh/ปี)
|
ปี 2562 |
- ลงทุนซื้อเครื่องฉีดพลาสติกขนาด 1750 ตัน 1 เครื่อง และเครื่อง 1600 ตัน 2เครื่อง เพื่อทดแทนเครื่องเก่าที่ชำรุดและทำให้กำลังการผลิตในสิค้ากลุ่มกันชน เพิ่มขึ้น 25%
|
ปี 2563 |
- ลงทุนซื้อเครื่องฉีดพลาสติกขนาด 800 ตัน 1 เครื่องมูลค่า5ล้านบาท เพื่อทดแทนเครื่องจักรเก่าที่ชำรุดสำหรับใช้ในการผลิตสินค้ากลุ่มหน้ากระจัง
- ลงทุนสร้างไลน์พ่นสีแบบใช้โรบอทในการพ่น มูลค่า 60 ล้านบาท เพื่อทดแทนไลน์พ่นเดิมที่เป็นระบบใช้คนพ่น เนื่องจากมีสภาพเก่าและประสิทธิภาพการทำงานต่ำ ทำให้กำลังการผลิตสินค้ากลุ่ม OEM เพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซนต์
- ลงทุนซื้อเครื่อง 3D-Printing ขนาด 1700 mm. x 1700 mm. x 600 mm.มูลค่า 5 ล้านบาท สำหรับผลิตสินค้าต้นแบบ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางด้านคุณภาพและเวลาในการนำสินค้าออกสู่ตลาด
- ลงทุนซื้อเครื่องฟิตแม่พิมพ์ (Die Spotting)และอุปกรณ์พลิกแม่พิมพ์ มูลค่า 8 ล้านบาทเพื่อใช้ในการฟิตแม่พิมพ์ที่มีสภาพชำรุดจากการใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเนื่องจากมีแม่พิมพ์ที่ผ่านการใช้งานมาหลายปีเป็นจำนวนมาก
- เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2020 บริษัทได้ดำเนินการซื้อลงทุนเพิ่ม จาก ALP Oversea Private Limited และ ALP Polymer Park Private Limited พร้อมทั้งรับโอนใบหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ โดยบริษัทได้จ่ายเงินชำระทั้งสิ้น จำนวน 245 ล้านรูปีอินเดีย เทียบเท่า 109.025 ล้านบาท
|
ปี 2564
|
- ทางบริษัทได้มีการชะลอการลงทุนเครื่องจักรใหม่ๆเนื่องจากทางผู้บริหารต้องการรอดูสถานการณ์การแพร่ระบาดของโวรัสโคโรน่า 2019 ว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษกิจโดยรวมของโลกหรือไม่
|
ปี 2565 |
- ลงทุนซื้อเครื่องฉีดพลาสติกขนาด 1750 ตัน 2 เครื่อง ขนาด 850 ตัน1 เครื่อง ขนาด 450 ตัน1 เครื่องและขนาด 80 ตัน 1 เครื่อง เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต และ เพื่อทดแทนเครื่องเก่าที่ชำรุดและทำให้กำลังการผลิตในสินค้ากลุ่มกันชนและกระจังเพิ่มขึ้น 15%
- ได้รับการสนับสนุนการลงทุนจาก BOI ในการลงทุนเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน
|
ปี 2566 |
- ติดตั้งเครื่องฉีดพลาสติกขนาด 1750 ตัน 2 เครื่อง ขนาด 850 ตัน1 เครื่อง ขนาด 450 ตัน1 เครื่องและขนาด 80 ตัน 1 เครื่อง เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต และ เพื่อทดแทนเครื่องเก่าที่ชำรุดและทำให้กำลังการผลิตในสินค้ากลุ่มกันชนและกระจังเพิ่มขึ้น 15%
- ดำเนินการจัดซื้อที่ดิน แปลงติดกับอาคารโรงงาน จำนวน 6-2-20 ไร่ เพื่อรองรับการขยายกิจการของบริษัท
- ลงนามในสัญญาร่วมลงทุน ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2566 กับบริษัท FUEL AUTOPARTS CO. LTD., (“FAC”) ซึ่งเป็นบริษัท ผู้จัดจำหน่ายอะไหล่ชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศซาอุดีอาระเบีย และ ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เพิ่มเติม จำนวน 1 บริษัท
- เปลี่ยนเครื่อง 3D Printing จากขนาด 1.7 เมตร เป็นขนาด 2.7 เมตร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตชิ้นงานต้นแบบให้กับลูกค้า
|